ค้นหาบล็อกนี้

Page Nav

HIDE

Grid

GRID_STYLE

Hover Effects

TRUE

Gradient Skin

{fbt_classic_header}

Update News:

latest

ซาลาเปาเพื่อน้อง ย้อนคดีลักทรัพย์ในตำนาน หนุ่ม 16 ฉกซาลาเปาเพื่อน้อง !!!




ซาลาเปาเพื่อน้อง

ย้อนคดีลักทรัพย์ในตำนาน หนุ่ม 16 ฉกซาลาเปาลูกเดียวเพื่อน้อง !!!





  กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีหนุ่มน้อย วัย 16 ปี คนหนึ่ง เขาเป็นคนขยันขันแข็ง ทำงานแลกเงินเพื่อจุนเจือครอบครัว มีอยู่วันหนึ่ง ระหว่างที่เขากำลังทำหน้าที่ ขาย “ซาลาเปา” ภายในห้างสรรพสินค้า วันนั้น เขาตัดสินใจเจียดเงิน จำนวน 10 บาท เพื่อซื้อซาลาเปาที่เขาเองเป็นคนขาย 1 ลูก เพื่อให้กับน้องชายได้รับประทานเพือประทังความหิวโหย... “ไปนับซาลาเปาสิ วันนี้ขายเหลือกี่ลูก แล้วให้นำไปทิ้งด้วย

เด็กชายวัย 16 ปี นับไปและนึกถึงน้องชายไป จึงตัดสินใจทำเรื่องผิดพลาดครั้งใหญ่ในชีวิต (น้อยๆ) ของเขา  เขาหยิบฉวยซาลาเปาไส้ครีมที่กำลังจะนำไปทิ้ง 1 ลูกโดยพลการเพื่อหวังว่าจะนำไปให้น้องชายได้รับประทาน เพราะคิดว่าน้องคงยังไม่อิ่มหากได้กินเพียงลูกเดียว นอกจากนี้ ก็รู้สึกเสียดายหากต้องนำของกินไปทิ้ง

  สิ่งที่ตามมาคือ ทาง รปภ.ของห้างสรรพสินค้าแห่งนั้นจับได้ น่าเศร้ายิ่งนัก... หนุ่มผู้ขยันขันแข็งแต่ทำผิดฐานลักทรัพย์ ถูกห้างสรรพสินค้าดังกล่าวดำเนินคดี และยังแถมไล่เขาออก พร้อมกับมารดาของเขา ที่ทำงานเป็นพนักงานขายในห้างนั้นด้วย เพราะ “เชื่อ” ว่า แม่ของเขามีส่วนช่วยให้ลูกชายขโมยซาลาเปา เพียง 1 ลูก 

  สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่นิทาน แต่คือเหตุการณ์จริงอันโหดร้ายสะเทือนใจของคนในสังคม เมื่อคืนวันที่ 18 มิถุนายน 2542  โดยหลังจากมีข่าวก็เป็นที่โจษจันในสังคม  เสียงเชียร์เสียงต้านจากคนในสังคมก็โหมกระหน่ำ บ้าง...ให้ดำเนินคดีให้เฉียบขาด  บ้าง...ก็อยากให้ปรานีเขา เพราะเขาไม่ได้ชั่ว เลว อยากได้ของคนอื่นโดยสันดาน มองว่าแค่นำซาลาเปาที่กำลังจะนำไปทิ้งไปให้น้องชายได้กินเพื่อคลายหิวเท่านั้น!


กรณีนี้...นับเป็นคดีในตำนาน เนื่องจากหนุ่ม 16 ปีรายนี้ได้รับการช่วยเหลือจากสภาทนายความ และพนักงานอัยการระดับผู้ใหญ่ ที่ยังปรานีเขาอยู่  
อ่านข่าวต่อได้ที่ :  www.thairath.co.th





คนที่ใช้กฎหมายต้องแยกแยะถูก-ผิด ดี-ชั่ว  ประโยชน์-โทษ ควร-ไม่ควรให้ได้ก่อน ถึงจะรู้ว่าการใช้กฎหมายของตนนั้น ใช้เพื่อช่วยเหลือคน หรือใช้เพื่อทำร้ายคน เพราะแนวทางการใช้กฎหมายมีหลายประเภท เช่น 
1. ใช้กฎหมายเพื่อสร้างปัญหา
2. ใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหา
3. ใช้กฎหมายเพื่อยับยั้งปัญหา
4. ใช้กฎหมายเพื่อซ้ำเติมปัญหา
5. ใช้กฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์พวกพ้องตัวเอง
6. ใช้กฎหมายเพื่อเบียดเบียนเอาเปรียบประชาชน
7. ใช้กฎหมายเพื่อช่วยเหลือประชาชน
8. ใช้กฎหมายเพื่อสร้างระบบการปกครองประเทศ
ถ้าหากแยกแยะผิดชอบชั่วดีไม่ได้ ผลสุดท้ายแล้วก็จะกลายเป็นว่า ใช้กฎหมายทำร้ายคนดี ทำร้ายสังคม ทำร้ายประเทศ ทำให้เกิดความเดือดร้อน แก่ประชาชนทั่วทุกหย่อมหญ้า เพราะความไม่รู้ผิดชอบชั่วดี ของผู้มีอำนาจรัฐในการใช้กฎหมายนั่นเอง
Cr : Ptt Cnkr

ไม่มีความคิดเห็น